เมนู

ว่าด้วยวิธีมนสิการ อุทริยํ (อาหารใหม่)


อุทริยํ อหารใหม่

ได้แก่ ของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม
ที่อยู่ในท้อง บรรดาอาหารใหม่เหล่านั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อรากสุนัข
ตั้งอยู่ในรางสุนัข รางสุนัขย่อมไม่รู้ว่า รากสุนัขตั้งอยู่ในเรา แม้รากสุนัข
ก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในรางสุนัข ดังนี้ ฉันใด ท้องก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมไม่รู้ว่า อาหารใหม่อยู่ในเรา แม้อาหารใหม่เล่าก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่
ในท้อง
ดังนี้ ธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน
เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า อาหารใหม่ที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้
ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติแข็ง
ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ กรีสํ (อาหารเก่า)


กรีสํ อาหารเก่า

ตั้งอยู่ในที่สุดแห่งไส้ใหญ่ กล่าวคือกระเพาะอาหาร
เก่า เช่นกับกระบอกไม้ไผ่ยาว 8 นิ้ว ในอาหารเก่าเหล่านั้น พระโยคีพึง
มนสิการว่า เมื่อเอาดินเหนียวละเอียดสีเหลืองขยำใส่ในปล้องไม้ไผ่ ปล้องไม้ไผ่
ย่อมไม่รู้ว่า ก้อนดินเหนียวสีเหลืองตั้งอยู่ในเรา แม้ก้อนดินเหนียวสีเหลือง
ก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในกระบอกไม้ไผ่ ดังนี้ ฉันใด กระเพาะอาหารเก่า
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า อาหารเก่าตั้งอยู่ในเรา แม้อาหารเก่าเล่าก็
ย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในกระเพาะอาหารเก่า ดังนี้ ธรรมเหล่านั้นเว้นจาก
ความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า อาหารเก่าที่เป็น
โกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ
ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติแข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ มตฺถลุงฺคํ (มันสมอง)


มตฺถลุงฺคํ มันสมอง

ตั้งอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ ในมันสมองนั้น
พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อบุคคลเอาก้อนแป้งใส่ในกะโหลกน้ำเต้าเก่า กะ-
โหลกน้ำเต้าเก่าย่อมไม่รู้ว่า ก้อนแป้งตั้งอยู่ในเรา แม้ก้อนแป้งก็ไม่รู้ว่า
เราตั้งอยู่ในกะโหลกน้ำเต้า ดังนี้ ฉันใด ภายในกะโหลกศีรษะก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า มันสมองตั้งอยู่ในเรา แม้มันสมองเล่าก็ไม่รู้ว่า เรา
ตั้งอยู่ในกะโหลกศีรษะ
ดังนี้ ธรรมเหล่านั้นเว้นจากความคิดและพิจารณา
ซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า มันสมองที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะ
ในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติ
แข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.

นิเทศปฐวีธาตุภายนอก


พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศปฐวีธาตุภายนอก บทว่า อโย (เหล็ก)
ได้แก่ โลหะดำ.
บทว่า โลหํ (โลหะ) ได้แก่ โลหะ 4 ชนิด คือ ชาติโลหะ 1
วิชาตโลหะ 1 กิตติมโลหะ 1 ปีสาจโลหะ 1 บรรดาโลหะ เหล่านั้น
โลหะ 7 ชนิดเหล่านั้น คือ อโย (เหล็ก) สชฺฌุ (เงิน) สุวณฺณํ (ทอง)
ติปุ (ดีบุก) สีสํ (ตะกั่ว) ตมฺพโลหํ (ทองแดง) เวกนฺตกโลหํ
(ทองเหลือง) ชื่อว่า ชาติโลหะ โลหะมีลักษณะดังงวงช้าง ชื่อว่า วิชาติโลหะ
โลหะ 3 อย่าง คือ กังสโลหะ วัฏฏโลหะ อารกูฏ ชื่อว่า กิตติมโลหะ
โลหะ 8 คือ โมรักขกะ ปุถุกะ มลีนกะ จปลกะ เสลกะ อาฏกะ ตัลลกะ
ทุสิโลหะ ชื่อว่า ปีสาจโลหะ บรรดาโลหะเหล่านั้น ชาติโลหะ 5 (ข้างต้น)
ตรัสไว้แผนกหนึ่งในพระบาลี แต่โลหะที่เหลือแม้ทั้งหมดกับชาติโลหะ 2
เหล่านี้ คือ ทองแดง และทองเหลือง พึงทราบว่า โลหะ ในทีนี้.